วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การเขียน Function ใน PHP

ในการเขียนโปรแกรม การทำงานซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง ถือเป็นเรื่องปกติในการเขียน ซึ่งการจะใช้โค้ดเดียวกันซ้ำ ๆ กันนั้น ส่วนมากเค้าไม่เขียนซ้ำ ๆ กันบ่อย ๆ แต่จะเขียนฟังก์ชันการทำงานขึ้นมา แล้วเวลาต้องการใช้ซ้ำ ๆ กัน ก็เพียงแค่เรียกชื่อฟังก์ชันขึ้นมาก็ถือว่าเป็นอันสิ้นสุด ดังนั้น ในบทความนี้ เรามาดูฟังก์ชันในภาษา PHP กัน

ฟังก์ชันใน PHP มีอยู่ 2 แบบ นั่นคือ ฟังก์ชันมาตรฐาน (Built-In Function) ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ภาษา PHP มีให้อยู่แล้วสามารถเรียกใช้ได้เลย เช่น ฟังก์ชัน Date, sort เป็นต้น และฟังก์ชันอีกแบบคือ ฟังก์ชันแบบที่เราสร้างขึ้นเอง (User-Defined Function: UDF) ฟังก์ชันที่เราสร้างเองเป็นยังไง และสร้างยังไง มาดูกัน

เรามาดู Syntax ของการสร้างฟังก์ชันกันก่อน ตามด้านล่างเลยคะ





วิธีการตั้งชื่อฟังก์ชัน
ชื่อของฟังก์ชันควรสื่อความหมายที่ฟังก์ชันทำงาน
ชื่อของฟังก์ชันต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรหรือขีดล่างเท่านั้น

ต่อไปมาดูตัวอย่างการสร้างและการเรียกใช้กันคะ

ตัวอย่างการเขียนฟังก์ชัน ตัวอย่างแรก




Output ที่ได้คือ
สวัสดีครับ นี่เป็นการทดสอบการเขียนฟังก์ชัน PHP จาก www.doesystem.com
ฟังก์ชันนี้ชื่อ helloDoesystem เวลาต้องการเรียกใช้ ก็แค่เรียกชื่อฟังก์ชัน

ตัวอย่างการเขียนฟังก์ชัน ตัวอย่างที่ 2



Output ที่ได้คือ
สวัสดีครับ คุณ Somchai
สวัสดีครับ คุณ SomYing
สวัสดีครับ คุณ Sompong
ฟังก์ชันนี้ชื่อ helloName เวลาต้องการเรียกใช้ ก็แค่เรียกชื่อฟังก์ชันแล้วตามด้วยพารามิเตอร์ name ที่ต้องการให้แสดงออก

ตัวอย่างการเขียนฟังก์ชัน ตัวอย่างที่ 3



Output ที่ได้คือ
สวัสดีครับ คุณ นารัตน์ พัดลมโชย
สวัสดีครับ คุณ หรูหรา ออมตง
สวัสดีครับ คุณ นางหวด สวามิพัก

ฟังก์ชันนี้ชื่อ helloName เวลาต้องการเรียกใช้ ก็แค่เรียกชื่อฟังก์ชันแล้วตามด้วยพารามิเตอร์ name กับ lastname ที่ต้องการให้แสดงออก

ตัวอย่างการเขียนฟังก์ชัน ตัวอย่างที่ 4



Output ที่ได้คือ
5 5 + 2 = 7 ฟังก์ชันนี้ชื่อ add เป็นฟังก์ชันบวกเลขสองตัว เวลาต้องการเรียกใช้ ก็แค่เรียกชื่อฟังก์ชันแล้วตามด้วยพารามิเตอร์ x กับ y ที่ต้องการบวกกัน เวลาต้องการแสดงก็สั่ง echo ด้วยเพราะว่า ในฟังก์ชัน return ค่าออกมา





วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิธีสร้างฐานข้อมูล Mysql


วิธีสร้างฐานข้อมูล Mysql

จะยกตัวอย่างการสร้างฐานข้อมูลโดยการใช้ phpMyAdmin หลังจากติดตั้ง Appserv นะ

ขั้นตอนที่ 1 เปิดเว็บบราวเซอร์ แล้วเข้าไปที่ http://localhost/ หรือ 127.0.0.1 ดังรูปที่ 1 ภาพหน้าแรกของ Appserv


                                                                                        รูปที่ 1 หน้าแรก Appserv

ขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 2 คลิกที่  phpMyAdmin Database Manager Version 2.10.3 แล้วจะเจอ popup ให้ใส่ username และ password ดังรูปที่ 2




ภาพที่ 2 popup username password

ให้ใส่ username กับ pass ที่ท่านได้กำหนดตอนติดตั้งโปรแกรมนะ เสร็จแล้วเลือกภาษาให้เป็นภาษาไทยด้วยนะ สำหรับบางท่านที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยเลือกที่ช่อง เลือกภาษา ตามตัวอย่างรูปที่ 3

                                                                              รูปที่ 3 อธิบายหน้าแรกของ phpMyAdmin

ขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นกรอกชื่อฐานข้อมูลต้องการที่ช่อง "สร้างฐานข้อมูลใหม่" แล้วกดปุ่ม "สร้าง" ดังรูปที่ 3



รูปภาพที่ 3 สร้างฐานข้อมูล
จากนั้นก็จะมาขั้นตอนการสร้างตารางของฐานข้อมูล โดยการ ใส่ชื่อตารางที่ช่อง "สร้างตารางในฐานข้อมูลนี้" และกำหนดจำนวน fields ที่ท่านต้องการ สำหรับตัวอย่างนี้ จะสร้างตารางเก็บประวัิติลูกค้า โดย จะใช้ชื่อตารางว่าcustomer และมีจำนวน fields 5 fields

                                                รูปภาพที่ 4 แสดงสร้างตาราง โดยกำหนด ชื่อ และ จำนวน fields
    รูปภาพที่ 4 แสดงสร้างตาราง โดยกำหนด ชื่อ และ จำนวน fields

ขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนที่ 4 หลังจากที่กำหนดชื่อตารางและกำหนด fields เสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่หน้าจอการกำหนด คุณสมบัติของ fields โดยจะยกตัวอย่างการสร้าง fields ดังต่อไปนี้
1. รหัส (id)
2. ชื่อ (name)
3. นามสกุล (surname)
4. ที่อยู่ (address)
5. เบอร์โทรศัพท (phone)
ซึ่งเราจะต้องกำหนดชนิดของตัวแปรในส่วนนี้ด้วย

ชนิดของข้อมูลที่สนับสนุน

ชนิดข้อมูลที่ MySQL สนับสนุนแบ่งเป็นสามประเภทหลักใหญ่ๆ
  • ชนิดข้อมูลที่เป็นตัวเลข
    • BIT (มีใช้ได้กับ MyISAM, InnoDB, Memory)
    • TINYINT
    • SMALLINT
    • MEDIUMINT
    • INT
    • BIGINT
  • ชนิดข้อมูลที่เกี่ยวกับวันที่และเวลา
    • DATETIME
    • DATE
    • TIMESTAMP
    • TIME
    • YEAR
  • ชนิดข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวอักษร
    • CHAR
    • VARCHAR
    • BINARY
    • VARBINARY
    • BLOB
    • TEXT
    • ENUM
    • SET

รูปภาพที่ 4 ภาพแสดงการกำหนด fields และคุณสมบัติต่างๆของฐานข้อมูล ตาราง customer


กำหนด ให้ รหัส (id) เป็น primary key และกำหนดให้เป็น auto_increment (สร้างรหัสอัตโนมัติ)โดยการคลิกเลือก ตามตัวอย่าง รูปภาพที่ 5

รูปภาพที่ 5 กำหนด primary key และกำหนดให้เป็น auto_increment

เมื่อกำหนดค่าต่างๆของฐานข้อมูลตาราง customer กดปุ่ม "บันทึก" หรือ ถ้าหากต้องการเพิ่ม field ก็สามารถ กดที่ "ลงมือ" ดังภาพที่ 6


รูปภาพที่ 6 บันทึกหรือเพิ่ม field ใหม่

เราก็จะได้ฐานข้อมูล ที่ชื่อ test_create_database และมีตารางชื่อ customer พร้อมใช้งานแล้ว
                                                                           รูปภาพที่ 7 ตาราง customer